Notebook Lenovo IdeaPad Z475 A6-3400M
สวัสดีครับเพื่อนๆในเว็บ VarietyPC.net รวมถึงเพื่อนๆผู้ที่ผ่านไปผ่านมา สำหรับวันนี้ทางเว็บของพวกเราก็ได้รับโน้ตบุคอีกหนึ่งรุ่นจาก Lenovo มาให้ทำการทดสอบและรีวิวกันอีกแล้วนะครับ โดยสำหรับวันนี้โน้ตบุคที่เราจะนำมาทำการทดสอบก็จะมาพร้อมกับชื่อรุ่นแบบ เต็มๆว่า Lenovo IdeaPad Z475 ซึ่งโน้ตบุครุ่นนี้ทาง Lenovo จะนำเข้ามาวางจำหน่ายในตลาดระดับล่าง เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการหาโน้ตบุคที่มีสเปคไม่สูง มากมาใช้งาน แต่กลับกันแม้ว่าสเปคที่มีมาจะไม่สูงเท่าไร ในส่วนของประสิทธิภาพและราคาที่สามารถจับต้องได้ รวมไปถึงรูปทรงและการออกแบบมาช่วยให้โน้ตบุครุ่นนี้น่าใช้งานมากยิ่งขึ้นอีก ด้วย สำหรับสเปคเครื่องและรายละเอียดต่างๆจะมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันเลยดีกว่าครับ
Specifications | |
Processor: | AMD A6-3400M (1.40GHz, 4MB L2 Cache up to 2.3GHz) |
Chipset: | AMD A70M Fusion Controller Hub |
Memory: | Samsung 4GB/1333 DDR3 |
Graphics: | AMD Radeon HD 6520G |
Display: | 14.1 inch WXGA (1,366×768 Pixel) LED |
Harddisk: | Seagate ST9500325AS 500GB 5,400RPM |
Optical Drive: | DVD Writer (Dual Layer Support + Removable) |
Network: | Ralink RT3090 802.11n Wireless, LAN, Bluetooth |
Web Camera: | 2.0 Mpixel |
Connection: | 3 USB 2.0, e-SATA combo, D-Sub,HDMI, Multi-in-1 Card reader |
Battery: | Lithium-Ion, 6-Cell |
Weight: | 2.33kg |
OS Bundled: | Dos |
Product Gallery
ตัวเครื่องด้านบน จะถูกออกแบบด้วยการใช้วัสดุที่เป็นพลาสติกและผสมผสานให้ลวดลายดูมิติสวยงาม พร้อมทั้งยังมีการเคลือบสาร Glossy ให้เกิดความเงางามแวววาว และไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนในการจับถือได้ง่าย พร้อมทั้งมีโลโก้ Lenovo อยู่ตรงตำแหน่งมุมซ้ายบนของหน้าจอ
ในส่วนของตัวเครื่องด้านล่าง ก็จะใช้วัสดุที่เป็นพลาสติกเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นแบบด้าน และแฝงได้ด้วยความคงทน แข็งแรง และสามารถวางใช้งานได้ทุกสภาพพื้นผิว
ตัวเครื่องด้านหน้า ก็จะมีไฟแสดงสถานะการทำงาน, สวิตซ์เปิด-ปิดสัญญาณบลูทูธ และสล็อตมัลติการ์ดรีดเดอร์
ดูให้เห็นกันชัดๆในส่วนของสวิตซ์เปิด-ปิดการทำงานของบลูทูธ และสล็อตมัลติการ์ดรีดเดอร์นั่นเองครับ
ตัวเครื่องด้านหลัง จะไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อใดๆ ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้การกางหน้าจอออกสามารถกางออกได้เต็มที่อีกด้วย
ตัวเครื่องด้านซ้าย (เริ่มจากซ้าย) จะเป็นตำแหน่งของช่องระบายอากาศ, พอร์ต D-Sub, Gigabit Lan 10/100/1000, HDMI-Out, e-SATA Combo และพอร์ต USB 2.0 x 1 ช่อง
ตัวเครื่องด้านขวา (เริ่มจากซ้าย) ก็จะเป็นตำแหน่งของช่องเสียบหูฟัง, ไมโครโฟน, USB 2.0 x 2 ช่อง, ไดรฟ์ Multi DVD-Writer และช่องเสียบอะแด็บเตอร์ DC-IN
เมื่อเปิดฝาหน้าจอขึ้นมา ก็จะเริ่มในส่วนของกล้องเว็บแคมทางด้านบนตรงกลางกันก่อนครับ ซึ่งจะมีขนาด 2 ล้านพิกเซล และหน้าจอมีขนาดความกว้าง 14 นิ้ว พร้อมด้วยชนิดของหน้าจอแสดงผล จะเป็นแบบจอกระจก หรือจอสะท้อนแสงนั่นเอง
และตรงนี้จะเป็นสเปคของหน้าจอที่ทำการตรวจสอบด้วยโปรแกรม AIDA64
ด้านบนซ้ายของตัวเครื่อง ก็จะเป็นในส่วนของลำโพงที่มีคุณภาพของเสียงระดับ HD, ปุ่มสวิตซ์เปิด-ปิด, ปุ่ม Recovery และไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสต์ เป็นต้น
อีกฝั่งของตัวเครื่องด้านบนขวา ก็จะเป็นปุ่มคีย์ลัดต่างๆซึ่งจะงานเป็นปุ่มเซ็นเตอร์ แค่เอานิ่วไปแตะบนปุ่ม คำสั่งต่างๆก็เริ่มทำงานแล้ว
แผงคีย์บอร์ดรวมทั้งปุ่มกดจะถูกออกแบบให้เป็นแบบ Chicket Design ที่สามารถทำงานแบบแยกอิสระออกจากกัน และยังสามารถสั่งงานการพิมพ์ต่างๆได้แม่นยำยิ่งขึ้น รวมไปถึงตัวโครงครอบทั้งหมดจะใช้วัสดุที่เป็นแมกนีเซียมทั้งแผง ก็จะช่วยให้เกิดความแข็งแรงทนทานกับการใช้งานได้เป็นอย่างดี
ไมโครโฟนจะอยู่ทางด้านซ้ายเหนือแป้นวางมือ ซึ่งเมื่อถูกจัดให้อยู่ตำแหน่งนี้จะทำให้สามารถจับเสียงพูดคุยต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
ในส่วนของทัชแพดจะถูกออกแบบให้เว้าลึกลงไปนิดหน่อย เพื่อบ่งบอกถึงขอบเขตการควบคุมเคอร์เซอร์ให้สามารถทำได้ง่ายขึ้น
มุมขวาล่างของตัวเครื่อง จะแสดงโลโก้ซึ่งเป็นฟีเจอร์เด่นๆที่มีมาให้อย่างเช่น เทคโนโลยี AMD Vision และพลังการประมวลผลของซีพียูแบบ Quad Core ผนวกกับกราฟิคการ์ดแบบแยกที่สามารถทำงานร่วมกันกับกราฟิคชิพที่มีมากับตัวซี พียูได้เป็นอย่างดี
ขาบานพับของหน้าจอ แม้จะดูเล็กไปหน่อย แต่ก็สามารถกาง-พับหน้าจอได้อย่างแข็งแรง
ตัวไดรฟ์ DVD Writer จะเป็นของยี่ห้อ Samsung สามารถรองรับการอ่าน-เขียนได้ทั้งแผ่น CD และ DVD ทุกฟอร์แมต และรองรับฟีเจอร์ Dual Layer ได้อีกด้วย
เมื่อทางเราทำการกางหน้าจอออกจนสุด สามารถทำมุมได้สูงสุด 145 องศา
อุปกรณ์ภายใน เมื่อทางเราได้เปิดฝาเครื่องออกครับ ก็จะพบว่าอุปกรณ์แต่ละชิ้นส่วนได้ถูกออกแบบเอาไว้อย่างลงตัวเลยทีเดียว
แรมที่มีมาให้จะเลือกใช้ยี่ห้อ Samsung 4GB บัส 1333 ชนิด DDR3 จำนวน 1 แผง และสามารถใส่เพิ่มได้สูงสุดที่ 8GB
ในส่วนของฮาร์ดดิสต์ที่ถูกบรรจุเอาไว้ในตัวเครื่องก็จะเป็นยี่ห้อ Seagate Momentus ขนาด 500GB ความเร็วจานหมุน 5,400 รอบต่อนาที
แบตเตอรี่ที่ใช้ก็จะเป็นชนิด Lithium-Ion, 6-Cell และมีกำลังการจ่ายไฟขนาด 48Wh
น้ำหนักที่ชั่งเฉพาะตัวเครื่องจะอยู่ที่ประมาณ 2.33 กิโลกรัมครับ ก็ถือได้ว่าหากเทียบกับรุ่นอื่นๆไม่หนักมากหรือไม่แตกต่างกันนักนะสำหรับโน้ตบุคที่มีหน้าจอความกว้างขนาดนี้
และเมื่อนำเอาสายไฟ AC และชุดอะแด็บเตอร์มาชั่งรวมกัน ก็จะได้น้ำหนักอยู่ที่ 2.82 กิโลกรัม
หน้าจอไบออสขณะเริ่มแรกของการเปิดเครื่องครับ ก็จะบ่งบอกรายละเอียดของสเปคเครื่องเอาไว้อย่างคร่าวๆ
System Information
ตัวระบบปฏิบัติการจะไม่มีติดมาให้กับเครื่องนะครับ แต่จะรองรับ Windows 7 ตั้งแต่รุ่น Home Edition ขึ้นไป แต่ขณะที่ทางเราทำการทดสอบ จะใช้ระบบ Windows ในรุ่น Windows 7 Ultimate 64-Bit SP1 ครับ
Performance Information and Tools
ทางด้านคะแนนแต่ละส่วนก็ถือว่าทำได้ดีทีเดียว แต่จะมีในส่วนของคะแนนทางด้านกราฟิคตรงนี้จะได้น้อยลงมาหน่อย เนื่องจากตัววินโดวส์จะมองเห็นกราฟิคของตัวซีพียูได้เท่านั้นครับ
Screen Resolution
ความละเอียดของหน้าจอสามารถปรับได้สูงสุดที่ 1,366×768 พิกเซล ซึ่งถือว่าเป็นขนาดความละเอียดปกติสำหรับหน้าจอกว้าง 14 นิ้ว
CPU-Z Information
ทางด้านซีพียูที่ถูกคัดสรรมาบรรจุเอาไว้กับโน้ตบุครุ่น IdeaPad Z475 จะผสมผสานมาพร้อมกันเทคโนโลยีของ AMD Fusion Llano A-Series ซึ่งจะมีกราฟิคมาให้ในตัวเลย โดยซีพียูที่ใช้จะเป็นรุ่น AMD A6-3400M มาพร้อมกับความเร็วมาตรฐานที่ 1.4GHz และสามารถทำงานด้วยฟีเจอร์ Turbo Core ทำให้ได้ความเร็วสูงสุดที่ 2.3GHz และมีแกนประมวลผลมาให้มีการทำงานแบบ 4 คอร์ 4 เทรด
GPU-Z Information
ในส่วนของกราฟิคชิพที่มีมาให้พร้อมกับซีพียูจะเป็นรุ่น AMD Radeon HD 6520G ตรงนี้เราสามารถปรับแต่งค่าให้เครื่องเชื่อมต่อแบบ CrossFire กับการ์ดจอแยกที่มีมาให้อย่าง AMD Radeon HD 6540G2 ได้อีกด้วย ผ่านตัวซอฟต์แวร์ไดร์เวอร์ AMD Vision Engine Control Center
AMD Vision Engine Control Center
ด้วยซอฟต์แวร์ตัวนี้ เราสามารถปรับแต่งค่าการใช้งานกราฟิคแบบแยกที่มีมาให้อย่าง AMD Radeon HD 6470M 1GB GDDR3 ให้เชื่อมต่อแบบ CrossFire กับกราฟิคชิพที่ฝังมากับ CPU ในโหมดของ Performance ได้ด้วยครับ (แต่ผลทดสอบในครั้งนี้จะมีเฉพาะผลทดสอบของตัวกราฟิคชิพที่มีมากับซีพียูเท่านั้นนะครับ)
AIDA64 Extreme Edition
Harddisk Drive Specification
Harddisk Drive Benchmark
ในส่วนของผลการทดสอบฮาร์ดดิสต์ ด้วยอัตราการเข้าถึงข้อมูลโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 18.7ms อาจจะได้คะแนนออกมาค่อนข้างน้อยไปสักนิด แต่การใช้งานโดยรวมก็ยังอยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้อยู่นะครับ
ขณะที่เราทำการทดสอบ จะทำโดยอุณหภูมิห้องปกติ ไม่มีแอร์ ซึ่งอุณหภูมิที่ได้จากตัวเครื่องและไม่ได้ใช้งานอะไร จะอยู่ที่ประมาณ 46 องศาเซลเซียส
ในส่วนของอุณหภูมิความร้อนสูงสุดที่เราได้ทดสอบด้วยซอฟต์แวร์อย่าง AIDA64 ในโหมด System Stability โดยทดสอบแบบรวมๆของอุปกรณ์ต่างๆจะพบว่าความร้อนสูงสุดจะแน่นิ่งอยู่ที่ 72 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าร้อนใช้ได้เลยทีเดียว แต่ความร้อนตรงนี้จะเทียบได้กับการใช้งานอย่างการเล่นเกมส์หรือใช้งานทางด้านกราฟิคเสียเป็นส่วนใหญ่นะครับ
Power Management
BatteryMon Battery Information
Hyper PI 0.99b
PCMark Vantage Professional (64-bit)
PCMark 7 Professional
3DMark 06 Professional
3DMark 11 Professional
CineBench R11.5 (64-Bit)
Unigine Heaven Benchmark v.2.5
BatteryMon
ขณะทำการทดสอบการใช้งานแบตเตอรี่ เราได้ทดสอบด้วยการเปิดไฟล์ภาพยนตร์ระดับ Full HD 1080p นับจาก 100% ถึง 7% ก่อนที่เครื่องจะดับไป ก็พบว่าระยะเวลาการใช้งานสามารถอยู่ได้นานสูงสุด 2 ชม. 8 นาที
ทางด้านระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่กลับเข้าไป โดยเริ่มตั้งแต่ 6% จนเต็มที่ 100% จะใช้ระยะเวลาโดยรวมประมาณ 2 ชม.
ทางด้านของระยะเวลาการเปิดเครื่องทิ้งเอาไว้ แต่ไม่ได้ใช้งาน จะสามารถทำเวลาได้สูงสุดเกือบๆ 5 ชม.เลยทีเดียว
Conclusion
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับการรีวิวและผลทดสอบโน้ตบุคจาก Lenovo ที่มาพร้อมกับชื่อรุ่น IdeaPad Z475 ที่ผ่านไปแล้วนั้น สำหรับผมก็ถือได้ว่า โน้ตบุครุ่นนี้คงจะตอบโจทย์การใช้งานในกลุ่มตลาดระดับกลางไปจนถึงตลาดระดับ ล่างได้เป็นอย่างดีทีเดียว โดยเฉพาะในกลุ่มของนักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการการใช้งานที่หลากหลาย แต่ราคาที่เมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่นๆ ประสิทธิภาพที่ได้จากพลังการประมวลผลของซีพียูระดับ 4 คอร์และแบ่งการทำงานออกเป็น 4 เทรด รวมไปถึงพลังที่ได้จากกราฟิคชิพและกราฟิคแยก และที่สำคัญยังสามารถปรับแต่งให้ทำงานแบบ CrossFire ได้อีกด้วย ก็ถือได้ว่าโน้ตบุครุ่นนี้ไม่เป็นรองใครเลยครับ
ขอขอบพระคุณ Lenovo Thailand