วิธีทำ Auto Login ให้ Windows 10 version 20H2

0
5215
วิธีทำ Auto Login ให้ Windows 10 version 20H2
วิธีทำ Auto Login ให้ Windows 10 version 20H2

สำหรับ วิธีทำ Auto Login ให้ Windows 10 version 20H2 สำหรับมือใหม่หลายๆท่านอาจจะยังงงๆอยู่ว่า Auto Login ที่ว่านี่คืออะไร Auto Login ที่ว่าก็คือ เมื่อเราเปิดคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 ก็จำเป็นต้องใส่รหัสผ่านก่อนเข้าสู่ระบบทุกครั้งนั่นเอง จริงๆก็ไม่เชิงว่าต้องเป็น Windows 10 version 20H2 แต่ต้องนับจาก Windows 10 version 2004 build 19033 เป็นต้นมาเลย ซึ่งเหตุเพราะทางไมโครซอฟต์เองได้ทำการตัดฟีเจอร์ Auto Login จากการเรียกใช้การตั้งค่าผ่านคำสั่ง Netplwiz หรือ Control Userpasswords2 ออกไป หรือบางท่านอาจจะเรียกการล็อกอินอัตโนมัติว่า Auto Logon หรือ Auto Sign-in ก็ได้

ซึ่งค่ามาตรฐานในขั้นตอนของการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 version 2004 build 19033 เป็นต้นมา หากผู้ใช้งานได้กำหนดรหัสผ่านระหว่างการติดตั้ง Windows 10 ไว้ก่อนแล้ว และหลังจากที่เราได้ทำการติดตั้ง Windows 10 เสร็จแล้ว ในขั้นตอนก่อนการบูตเข้าสู่ระบบจนใช้งานได้ จำเป็นต้องใส่รหัสผ่านก่อนเข้าใช้งานเสมอ ซึ่งถ้าหากผู้ใช้งานท่านใดเบื่อการต้องมาคอยใส่รหัสผ่านก่อนเข้าใช้งานทุกครั้ง เราก็สามารถตั้งค่าให้ระบบทำการใส่รหัสผ่านหรือล็อกอินแบบอัตโนมัติพร้อมใช้งานได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

ด้วยการแก้ไขค่าการล็อกอินอัตโนมัติหรือ Auto Login ผ่านเครื่องมือ Registry Editor โดยการกดปุ่มคีย์ลัด Windows + R เพื่อเปิดหน้าต่าง Run -> แล้วพิมพ์คำสั่ง Regedit -> กด OK

ที่เมนูทางด้านซ้ายเข้าไปที่พาธไดเรกทอรี่ดังนี้

Computer\HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows NT\CurrentVersion\Winlogon

ที่พาเนลทางด้านขวา ให้คลิกพื้นที่ว่าง แล้วเลือก New -> String Value เพื่อสร้างค่าสตริงขึ้นมาใหม่ พร้อมกับกำหนดชื่อเป็น AutoAdminLogon

แล้วกำหนดค่าในช่อง Value data: ให้เป็น “1” -> กด OK

แล้วเลือก New -> String Value อีกครั้งเพื่อสร้างค่าสตริงขึ้นมาใหม่ พร้อมกับกำหนดชื่อเป็น DefaultUserName

แล้วกำหนดค่าในช่อง Value data: ให้เป็น “บัญชีผู้ใช้ที่เรากำหนดเอาไว้สำหรับการล็อกอินเข้าสู่ระบบ” -> กด OK

แล้วเลือก New -> String Value อีกครั้งเพื่อสร้างค่าสตริงขึ้นมาใหม่ พร้อมกับกำหนดชื่อเป็น DefaultPassword

แล้วกำหนดค่าในช่อง Value data: ให้เป็น “รหัสผ่านที่เราใช้สำหรับล็อกอินเข้าสู่ระบบ” -> กด OK

เมื่อทำการสร้างค่าสตริงทั้ง 3 เสร็จแล้ว ก็ให้ลองรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ดูใหม่ ก็จะพบว่าในการบูตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows 10 ครั้งต่อไปก็ไม่จำเป็นต้องใส่รหัสผ่านสำหรับล็อกอินกันอีกแล้วครับ


คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.